วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2559

กรรมของเกรียน!!!

ในสังคมไทยวันนี้ มักมีศัพท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นตามสภาพสังคม วันนี้อยากแนะนำให้รู้จักคำที่วัยรุ่นชอบใช้คำหนึ่งคือคำว่า "เกรียน" มาดูความหมายกันก่อนดีกว่า

เกรียน เป็นศัพท์สแลงแทนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อกวน ไร้เหตุผล หรือคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของสังคมอินเทอร์เน็ต บุคคลกลุ่มนี้จะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลหรือการวิเคราะห์ไตร่ตรอง 

บุคลิกภาพของเกรียน 
บุคคลที่อยู่ในสภาวะเกรียน อาจมีบุคลิกภาพต่อไปนี้มากกว่า 1 ข้อ 
1.มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ถึงขั้นที่เชื่อว่าตนเองเป็นฝ่ายถูกเสมอ หรือสร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวเอง 
2.มี EQ ต่ำ เนื่องจากจะแสดงออกตามอารมณ์เป็นที่ตั้ง โดยไม่คำนึงถึงเหตุผล มีความอดทนต่อสิ่งเร้าภายนอกน้อยกว่าบุคคลปกติ 
3.ใช้การแสดงออกทางวาจา (หรือข้อความที่พิมพ์) มากกว่าทางความคิด และใช้คำหยาบคายบ่อยครั้ง 
4.ไม่รู้จักมารยาทในสังคม สร้างความรำคาญและไม่คิดถึงความทุกข์ร้อนของคนรอบข้าง 
5.ชอบเรียกร้องความสนใจ สร้างประเด็นปัญหา ทำให้เกิดข้อขัดแย้งและการทะเลาะวิวาท 
6.มักจะรวมกลุ่มระหว่างเกรียนกันเอง เนื่องจากผู้อื่นไม่คบหาสมาคม 
7.ชอบคิดว่าผู้อื่นด้อยกว่าตน มักจะพยายามหาทางดูถูกผู้อื่นทุกด้าน และจะคิดว่าตนนั้นมีทุกอย่างสมบูรณ์เสมอ

คำว่า "เกรียน" นี้ สามารถเทียบได้กับคำว่า "นักเลงคีย์บอร์ด" ซึ่งมาจากคำว่า นักเลง +  คีย์บอร์ด ตามพจนานุกรมไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า นักเลงไว้ว่า ผู้ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ๆ เช่น นักเลงหนังสือ นักเลงการพนัน  หรือหมายถึงผู้เกะกะระราน เช่น เป็นนักเลง นักเลงโต ก็ว่า

ตามพจนานุกรมไทย-ไทย ของอ.เปลื้อง ณ นคร ให้ความหมายของคำว่า นักเลงไว้ว่า คือ คนที่ฝังหัวในทางชั่ว เช่น นักเลงผู้หญิง, นักเลงการพนัน, นักเลงสุรา หรือหมายถึงผู้สนใจรักชอบในทางใด ทางหนึ่ง เช่น นักเลงนกเขา คือ ผู้สนใจในเรื่องนกเขา.

ดังนั้นนักเลงคีย์บอร์ด จึงหมายถึง ผู้ที่ฝังหัวในทางชั่ว หรือผู้เกะกะระรานโดยใช้คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์ ที่สำคัญคือ ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ ทำความชั่วด้วยการพิมพ์ด่าว่าพระภิกษุสามเณร พระพุทธเจ้า หรือบุคคลที่ควรบูชาโดยไม่ยั้งคิด และทำต่อเนื่อง 

การบริภาษด่าว่าพระภิกษุผู้ทรงศีลเป็นกรรมหนักมาก บางคนแค่ฟังเขาว่าต่อๆ กันมาก็หลงเชื่อ ผสมโรงด่าว่าท่านด้วยความคึกคะนอง กรรมนี้น่ากลัวนัก ยิ่งในโลกปัจจุบันที่การสื่อสารออนไลน์เป็นไปอย่างรวดเร็วกว้างขวาง ยิ่งต้องระมัดระวัง มีสติ เช็คข้อมูลก่อนแชร์ ไม่ไปตามแห่ทำบาปกับใคร

นอกจากนี้ เกรียนที่ชอบตัดต่อภาพใส่ร้ายป้ายสีพระภิกษุ ยิ่งผิดทั้งศีล ผิดทั้งธรรม จะหาเหตุผลมาอ้างว่าทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพราะคิดว่าท่านไม่ดี เหตุผลนี้เมื่อตายแล้วตกนรก จะเอาไปใช้อ้างกับยมบาลเขาก็ไม่รับฟังเลย 

ตัวอย่างกรรมที่เกรียน หรือนักเลงคีย์บอร์ดจะได้รับ ขอให้ดูภาพประกอบ

มือที่เรามี ได้มาจากพ่อแม่ของเรา อันที่จริง ร่างกายทั้งหมดที่เรามีก็เป็นสมบัติของคุณพ่อคุณแม่ การที่ลูกนำเอาร่างกายไปใช้ในการทำกรรมชั่วทั้งทาง กาย และวาจา เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทางที่ดีควรใช้ร่างกายไปประกอบกรรมดีเพื่อประกาศคุณของพ่อแม่ และเป็นประโยชน์ในการสร้างกุศลกรรมของตัวเองต่อไป

การทำความชั่วเป็นอาจิณกรรม หรือทำประจำสม่ำเสมอ ชีวิตจะทุกข์ทรมานเหมือนเรื่องของนายโคฆาตก์ คนที่ประกอบอาชีพฆ่าวัวทั้งชีวิต เป็นคนที่ชอบบริโภคเนื้อมาก วันหนึ่งขัดใจที่เพื่อนมาเอาเนื้อของตัวเองไป จึงโกรธแล้วเดินไปหลังบ้าน ดึงเอาลิ้นของวัวตัวหนึ่งออกมาแล้วตัดที่โคน เอามาปิ้งกินด้วยความแค้น ขณะที่กำลังกินลิ้นวัวปิ้งด้วยความเอร็ดอร่อย แรงกรรมตามทันทำให้ลิ้นของเขาขาดโดยไม่ทราบสาเหตุ เลือดไหลทะลักออกมา ร้องเหมือนวัวแล้วตายในที่สุด มีอเวจีมหานรกเป็นที่ไป

ส่วนกรรมของเกรียน หรือนักเลงคีย์บอร์ดในปัจจุบัน ให้ศึกษาว่า สิ่งที่ทำลงไป หรือชอบเป็นเกรียนผิดกฎหมายหรือไม่ อย่างไร ดังนี้

“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”
     มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
     (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
     (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
     (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
     (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)

     มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔

     มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิด
ตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

แนวปฏิบัติที่ถูกต้องคือ เราอย่าไปบริภาษด่าว่าพระภิกษุสงฆ์ เพราะเรายังรู้จักท่านไม่จริง แต่จงเอาเวลาไปศึกษาธรรมะ และประพฤติปฏิบัติธรรม กับพระภิกษุรูปใดก็ได้ที่เราถูกอัธยาศัย มีความศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านดีกว่า ทำอย่างนี้เราจะไม่มีวิบากกรรม จะมีแต่ความสุขความเจริญตลอดไป ทั้งภพนี้และภพหน้า
ที่มา : บุตรของนายโคฆาตก์ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒
        : http://www.amnathos.go.th/row.html
        : http://dictionary.sanook.com/search/dict-slang/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99
        : http://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%87

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พระไตรปิฎก

คำศัพท์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในวันนี้ เสนอคำว่า 

พระไตรปิฎก


พระไตรปิฎก คืออะไร ?

          ศาสนาทุกศาสนา มีคัมภีร์หรือตำราทางศาสนาเป็นหลักในการสั่งสอน แม้เดิมจะมิได้ขีดเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เมื่อมนุษย์รู้จักใช้ตัวหนังสือ ก็ได้มีการเขียน การจารึกคำสอนในศาสนานั้น ๆ ไว้ เมื่อโลกเจริญขึ้นถึงกับมีการพิมพ์หนังสือเป็นเล่ม ๆ ได้ คัมภีร์ศาสนาเหล่านั้นก็มีผู้พิมพ์เป็นเล่มขึ้นโดยลำดับ

          พระไตรปิฎก หรือที่เรียกในภาษาบาลีว่า ติปิฎกหรือเตปิฎกนั้น เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับไตรเวท เป็นคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ ไบเบิ้ลของศาสนาคริสต์ อัล กุรอานของศาสนาอิสลาม

          กล่าวโดยรูปศัพท์ คำว่า "พระไตรปิฎก" แปลว่า ๓ คัมภีร์ เมื่อแยกเป็นคำ ๆ ว่า พระ+ไตร+ปิฎก คำว่า พระ เป็นคำแสดงความเคารพหรือยกย่อง คำว่า ไตร แปลว่า ๓ คำว่า ปิฎก แปลได้ ๒ อย่าง คือแปลว่า คัมภีร์หรือตำราอย่างหนึ่ง แปลว่า กระจาดหรือตะกร้าอย่างหนึ่ง ที่แปลว่ากระจาดหรือตะกร้า หมายความว่า เป็นที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหวดหมู่ ไม่ให้กระจัดกระจาย คล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะใส่ของฉะนั้น

พระไตรปิฎกแบ่งออกเป็นอะไรบ้าง ?
         เมื่อทราบแล้วว่า คำว่า พระไตรปิฎก แปลว่า ๓ คัมภีร์ หรือ ๓ ปิฎก จึงควรทราบต่อไปว่า ๓ ปิฎก นั้นมีอะไรบ้าง และแต่ละปิฎกนั้น มีความหมายหรือใจความอย่างไร ปิฎก ๓ นั้นแบ่งออกดังนี้ 

                
         ๑. วินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี, เป็นที่รวมพระวินัยซึ่งเป็นข้อบัญญัติ และข้อปฏิบัติเพื่อความเรียบร้อยดีงาม


         ๒. สุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่ว ๆ ไป, ที่รวมคำสอนที่เป็นหลักปฏิบัติคือธรรมะต่างๆ


         ๓. อภิธัมมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วน ๆ หรือธรรมะที่สำคัญ, ที่รวมคำสอนที่เป็นหลักธรรมชั้นสูงล้วนๆ


        ไตรปิฎก ในที่ทั่วไปหมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งถูกรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ในการทำสังคายนาครั้งที่ 1

        พระไตรปิฎกเป็นที่รวมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ทรงตรัสว่า พระธรรมและพระวินัย จะเป็นศาสดาแทนพระองค์ พระธรรมและพระวินัยนี้ ก็คือพระไตรปิฎกนั่นเอง ดังนั้น พุทธศาสนิกชนควรจะได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธองค์ผ่านพระไตรปิฎก เพื่อน้อมนำธรรมที่พระองค์สอนไว้มาประพฤติปฏิบัติตามให้สมควรแก่ธรรม คือ รู้ปริยัติ เพื่อนำมาปฏิบัติ ให้ได้ผลคือปฏิเวธ คือรู้แจ้ง ไม่ใช่เพียงสักแต่ว่ารู้ แล้วนำความรู้นั้นมาใช้ข่มผู้อื่น ที่เรียกว่า ปริยัติงูพิษนั่นเอง 

       
#เรารักพระพุทธศาสนา

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ม.ส. ย่อมาจากอะไร

มส. ย่อมาจาก มหาเถรสมาคม (อังกฤษ: Sangha Supreme Council of Thailand)


           มหาเถรสมาคม เป็นองค์กรปกครองคณะสงฆ์แห่งราชอาณาจักรไทยสูงสุด ทำหน้าที่คล้ายๆคณะรัฐมนตรี เป็นองค์กรซึ่งมีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ไทย ตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ประกอบด้วย สมเด็จพระสังฆราช หรือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง, สมเด็จพระราชาคณะทุกรูป เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง, และพระราชาคณะซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งไม่เกินสิบสองรูป เป็นกรรมการโดยการแต่งตั้ง






             ข่าวดังช่วงนี้คงไม่พ้นเรื่องที่ม.ส.ตัดสินเรื่องหลวงพ่อธัมมชโย ว่าไม่เป็นอาบัติปาราชิก ในคดีที่ถูกกล่าวหาว่า ยักยอกที่ดิน โกงเงินของวัด ข้อกล่าวหานี้จบไปตั้งแต่ปี 2549 ในศาลชั้นต้น และไม่มีการยื่นอุทธรณ์ เลยมีคำกลอนมาให้อ่านกัน



😆 พระหรือมาร ใครก็รู้ ดูก็ออก
ราศีบอก ให้รู้เห็น เป็นไฉน
ถ้าหน้าผ่อง เบิกบาน สำราญใจ
ขอบอกให้ ว่าพระดี มีคุณธรรม

😆ถ้าหน้าดำ คร่ำเครียดหมอง ไม่ผ่องใส
มีจิตใจ เป็นพาล สันดานต่ำ
ย่อมเป็นมาร ด้วยการยึด พฤติกรรม
พระไม่ทำ สิ่งชั่วช้า หาเรื่องใคร
Cr.อ.ยุติธรรม



ผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกเดินถนน

ผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกเดินถนน


ตามความหมายของพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ผู้ดี หมายถึง คนที่เกิดในตระกูลดี คนที่มีมารยาทดีงาม. 
ขี้ครอก หมายถึง ลูกของขี้ข้า ทาสโดยกําเนิด มักใช้เปรียบเทียบกับคนไม่ดี คนชั่ว 

ผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกเดินถนน หมายถึง คนดีคอยปิดบังไม่แสดงตัวแต่คนชั่วกลับแสดงออกอย่างเปิดเผย

ตัวอย่างของการใช้สำนวนไทย ผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกเดินถนน เช่น


o เขาไม่คิดเลยว่าจะต้องมาเห็นผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกเดินถนน คนดี ๆ ต้องคอยหลบคนชั่วที่มีอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง

o หากเรายอมให้คนชั่วกระทำชั่วต่อไปอีกหน่อยบ้านเมืองคงอยู่ในสภาพผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกเดินถนนเป็นแน่

        ในปัจจุบันเมืองไทย มีขี้ครอกเดินถนนเต็มไปหมด คนดีดีต้องหลบ ไม่อยากเกลือกกลั้วกับขี้ครอก (ที่ละเมอว่าตนเองจะปกป้องพระพุทธศาสนา) มีการกดดันให้ตำรวจไปจับ มส.ผู้ปกครองสงฆ์ทั้งสังฆมณฑล เพราะ มส.ตัดสินไม่ถูกใจ ไม่เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ เหล่าคนดีทั้งหลายเราอย่าเดินในตรอกเลย นอกจากถนนให้เดิน เราก็เดินบนอากาศแบบไร้ร่องรอย กันดีกว่า

ฮา ฮิ้ว    
Cr.ผู้ดีนะจ๊ะ




ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ธรรมกาย วัดพระธรรมกาย